
ทิวดอร์ ซับมารีเนอร์ (Tudor Submariner)
ฮันส์ วิลสดอฟ ผู้ก่อตั้งนาฬิกาข้อมือโรเล็กซ์ (Rolex) ได้บอกไว้ เขาได้สร้างนาฬิกาข้อมืออีกแบรนด์ขึ้นในปี1950 มาเพื่อให้คนทั่วไปสามารถซื้อได้ ซึ่งก็คือ ทิวดอร์ นั่นเอง ความน่าสนใจของนาฬิกาข้อมือแบรนด์นี้คือ ตั้งแต่ช่วงกลางยุค 1990 เป็นตั้นมา ได้ใช้มงกุฎและตัวเรือนของโรเล็กซ์ รวมถึงรุ่นก่อนหน้านั้นที่ผลิตออกมาก่อนปี 1971 ได้ใช้สายของโรเล็กซ์ทั้งหมด โดยรุ่นที่น่าเก็บสะสมของยี่ห้อนี้ก็คือรุ่น ทิวดอร์ ซับมารีเนอร์ (Tudor Submariner) เพราะมันขับเคลื่อนด้วยอัญมณี 17 เม็ด มาพร้อมกับตัวเครื่อง Valjoux 722 ในระบบออโตเมติกนั่นเอง

เอวิเอเตอร์ส (Aviators)
ลอนจินส์ มีชื่อเสียงอย่างมากในฐานะผู้ผลิตนาฬิกาข้อมือสำหรับนักบินหรือที่เรียกว่า เอวิเอเตอร์ส (Aviators) นั่นเอง เพราะว่านับตั้งแต่ก่อตั้งบริษัทขึ้นในปี 1832 เป็นต้นมา จะผลิตแต่นาฬิกาข้อมือสำหรับนักบินเท่านั้น แม้ว่ากระแสนิยมในตอนนั้นจะเอนไปทางนาฬิกาข้อมือแบบสปอร์ตและโครโนกราฟมากกว่าก็ตาม

พาเนราย (Panerai)
นาฬิกาข้อมือของ พาเนราย นับว่าเป็นนาฬิกาข้อมือที่หาได้ยากมาก เนื่องจากมันถูกผลิตขึ้นมาแค่ 300 เรือนเท่านั้นตั้งแต่ปี 1938 ถึงปี 1993 เพื่อมอบให้กับกองทัพเรืออิตาลี อย่างไรก็ตาม ในปี 1993 ได้ฟื้นตัวขึ้นมาใหม่ แต่ก็ยังผลิตในจำนวนที่ยังน้อยอยู่คือแค่ 1,000 เรือนเท่านั้น นับจากปี 1993 จนถึงปี 2000 และด้วยความที่มันหายาก เลยทำให้นาฬิกาข้อมือพาเนรายเป็นที่ต้องการของคนรักนาฬิกาข้อมือเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม ทางเว็บไซต์ D’Marge ไม่ได้บอกราคาจำหน่ายให้ทราบแต่อย่างใด

เอ็นนิการ์ เชอร์ปา (Enicar Sherpa)
บริษัท เอ็นนิการ์ ได้ก่อตั้งขึ้นในปี 1913 ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และยังเป็นบริษัทแรกของโลกที่ใช้แร่เรเดียมมาเป็นส่วนประกอบในการผลิตนาฬิกาข้อมือ โดยแร่ตัวนี้ทำให้ผู้สวมใส่สามารถดูเวลาในที่มืดได้ และจากจุดเด่นตรงนี้ของมันทำให้นาฬิกาข้อมือเอ็นนิการ์ประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้นาฬิกาข้อมือที่มีประวัติที่น่าสนใจของแบรนด์นี้คือรุ่น เอ็นนิการ์ เชอร์ปา (Enicar Sherpa) ที่ถูกใช้ในการสำรวจเทือกเขาเอเวอเรสต์ในปี 1956 เพราะเจ้านาฬิกาข้อมือรุ่นนี้บอกเวลาได้แม่นยำมากเมื่ออยู่บนที่สูงเหนือระดับน้ำทะเลนั่นเอง